วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555

คำถาม


                       1. ข้อใดไม่ใช่ขั้นตอนการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ
                 I. Airway
                 II. Breathing
                 III. Circulation
                 IV. Exchange
                       2. การปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพจควรทำภายในเวลากี่นาที
                 I. 1 นาที
                 II. 2 นาที
                 III. 4 นาที
                 IV. 8 นาที
                       3. วิธี "jaw thrust maneuver" ใช้ในกรณีใด
                 I. กระโหลกแตก
                 II. คอหัก
                 III. แขนหรือขาหัก
                 IV. หมดสติ
                       4. การนวดหัวใจควรมีอัตราเร็วเท่าใดและลึกเท่าไร
                 I. อัตราเร็ว 90 ครั้ง/นาที ลึก 1-1.5 นิ้ว
                 II. อัตราเร็ว 90 ครั้ง/นาที ลึก 1.5-2 นิ้ว
                 III. อัตราเร็ว 100 ครั้ง/นาที ลึก 1-1.5 นิ้ว
                 IV. อัตราเร็ว 100 ครั้ง/นาที ลึก 1.5-2 นิ้ว
                       5. clinical death คืออะไร
                I. ภาวะหยุดหายใจและหัวใจหยุดเต้นพร้อมกัน
                II. ภาวะหยุดหายใจและเนื้อเยื่อสมองขาดออกซิเจนพร้อมกัน
                III. ภาวะหัวใจหยุดเต้นและเนื้อเยื่อสมองขาดออกซิเจนพร้อมกัน
                IV. ภาวะหยุดหายใจและหัวใจหยุดเต้นและเนื้อเยื่อสมองขาดออกซิเจนพร้อมกัน
6. อวัยวะใดต่อไปนี้ไม่ถูกควบคุมโดยระบบประสาทนอกอำนาจจิตใจ
I. หัวใจ
II. ลำไส้
III. กล้ามเนื้อ
IV. กระเพาะ
7. ชะชะช่าเป็นจังหวะที่ได้รับการพัฒนามาจากจังหวะใด
I. แทงส์โก้
II. ว้อลส์
III. แมมโบ้
IV. เวียนนิสวอล
8. จังหวะใดที่มีกำเนิดหลังสุด
I. ชะชะช่า
II. สามช่า
III. อาโกโก้
IV. มิสยูนิเวิรล


เฉลย
1) IV     2) III     3) II     4) IV     5) III     6) I     7) III     8) I

วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ขั้นตอนปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ CPR ในผู้ป่วยเด็กระหว่าง 1-8 ปี


ขั้นตอนปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ CPR ในผู้ป่วยเด็กระหว่าง 1-8 ปี

ขั้นตอนการทำ CPR ในผู้ป่วยเด็กระหว่าง 1-8 ปี

1. ให้ลองเขย่าผู้ป่วยเบาๆ แล้วสังเกตว่าเด็กส่งเสียงหรือหายใจหรือเคลื่อนไหวหรือไม่ ถามครับว่า เป็นอะไรไหม ?”
2. ถ้าไม่ตอบสนอง ให้ตะโกนร้องขอความช่วยเหลือ ให้อีกคนหนึ่งโทรเรียกรถพยาบาล 1669 อย่าจากเด็กไปเรียกด้วยตนเองจนกว่าจะทำ CPR ครบ 2 นาที
3. ถ้ามีโอกาสที่เด็กจะได้รับอันตรายที่กระดูกสันหลัง ให้ใช้คน 2 คนเคลื่อนย้ายเด็กเพื่อป้องกันคอและลำตัวบิด
4. ยกคางขึ้นด้วยมือข้างหนึ่ง ผลักศีรษะไปด้านหลังด้วยมืออีกข้างหนึ่ง

                                          

5. วางหูใกล้กับปากและจมูกของเด็ก สังเกตการเคลื่อนไหวของหน้าอก สังเกตลมหายใจจากความรู้สึกจากแก้ม

                                        


6. ถ้าเด็กยังไม่หายใจ
ใช้ปากประกบกับปาก บีบจมูกให้แน่น
พยายามยกคางแหงนหน้าขึ้น
เป่าปาก 2 ครั้ง โดยที่เป่าปากใช้เวลาประมาณ 2 นาทีและพยายามให้หน้าอกขยาย

                                       
7. กดหน้าอก
วางสันฝ่ามือบนหน้าอก ระดับราวนม
ให้มืออีกข้างหนึ่งวางบนหน้าผากเด็ก พยายามให้เด็กหงายหน้าขึ้น
กดหน้าอกให้กดลงไปให้ลึก 2 นิ้ว
กดหน้าอก 30 ครั้ง กดแต่ละครั้้งต้องเร็วและไม่มีการหยุด นับหนึ่ง นับสอง นับสาม นับสี่ นับห้า นับหก นับเจ็ด นับแปด นับเก้า นับสิบ สิบเอ็ด สิบสอง สิบสาม สิบสี่ สิบห้า สิบหก สิบเจ็ด สิบแปด สิบเก้า ยี่สิบ ยี่เอ็ด ยี่สอง ยี่สาม ยี่สี่ ยี่ห้า ยี่หก ยี่เจ็ด ยี่แปด ยี่เก้า สามสิบ หยุด

8. เป่าปาก 2 ครั้ง ให้หน้าอกขยาย

9. ทำซ้ำข้อ 7 กดหน้าอก 30 ครั้งตามด้วยเป่าปาก 2 ครั้ง เป็นระยะเวลา 2นาที
หลัง 2นาทีถ้าผู้ป่วยไม่หายใจ ไม่ไอ ไม่ขยับ ให้โทรหารถพยาบาล 1669 ทันทีครับ
ทำซ้ำข้อ 9 จนกว่าผู้ป่วยจะตื่น

         ให้ระวังเสมอในกรณีผู้ป่วยจมน้ำและ เวลาที่ขนย้ายผู้จมน้ำ ให้คำนึงไว้ว่าอาจได้รับอันตรายส่วนลำคอ และกระดูกสันหลัง อย่าหมุนคอ อย่าหงายหรือก้มคอโดยไม่จำเป็น ให้ศีรษะและคออยู่นิ่งให้มากที่สุดระหว่างขนย้ายผู้ป่วย คุณสามารถใช้ผ้าเช็ดตัวม้วนวางทั้ง 2 ข้างของศีรษะ แล้วใช้เทปพันศีรษะเข้ากับกระดาน



อ้างอิง
http://www.fire2fight.com/articles.php?article_id=13

ขั้นตอนปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ CPR ในผู้ป่วยเด็กเล็กไม่เกิน 1 ปี


ขั้นตอนปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ CPR ในผู้ป่วยเด็กเล็กไม่เกิน 1 ปี
ขั้นตอนการทำ CPR ในผู้ป่วยเด็กเล็กไม่เกิน 1 ปี
1. ให้ลองเขย่าผู้ป่วยเบาๆ แล้วสังเกตว่าเด็กส่งเสียงหรือ เคลื่อนไหวหรือไม่
2. ถ้าไม่ตอบสนอง ให้ตะโกนร้องขอความช่วยเหลือ ให้อีกคนหนึ่งโทรเรียกรถพยาบาล 1669 อย่าจากเด็กไปเรียกด้วยตนเองจนกว่าจะทำ CPR ครบ 2 นาที
3. ถ้ามีโอกาสที่เด็กจะได้รับอันตรายที่กระดูกสันหลัง ให้ใช้คน 2 คนเคลื่อนย้ายเด็กเพื่อป้องกันคอและลำตัวบิด
4. ยกคางขึ้นด้วยมือข้างหนึ่ง ผลักศีรษะไปด้านหลังด้วยมืออีกข้างหนึ่ง

                                                

5. วางหูใกล้กับปากและจมูกของเด็ก สังเกตการเคลื่อนไหวของหน้าอก สังเกตลมหายใจจากความรู้สึกจากแก้ม

                                               

6. ถ้าเด็กยังไม่หายใจ
ใช้ปากประกบกับปากของเด็ก หรือปากประกบกับจมูกแต่ต้องให้ปากของเด็กปิดสนิท
พยายามยกคางแหงนหน้าขึ้น
เป่าปาก 2 ครั้ง โดยที่เป่าปากใช้เวลาประมาณ 2 นาทีและพยายามให้หน้าอกขยาย

                                                    
7. กดหน้าอก
วางนิ้ว 2 นิ้วบนหน้าอก ระดับใต้ราวนม
ให้มืออีกข้างหนึ่งวางบนหน้าผากของเด็ก พยายามให้เด็กหงายหน้าขึ้น
กดหน้าอกให้กดลงไประหว่าง 1/3-1/2 ของความลึกของหน้าอก
กดหน้าอก 30 ครั้ง กดแต่ละครั้้งต้องเร็วและไม่มีการหยุด นับหนึ่ง นับสอง นับสาม นับสี่ นับห้า นับหก นับเจ็ด นับแปด นับเก้า นับสิบ สิบเอ็ด สิบสอง สิบสาม สิบสี่ สิบห้า สิบหก สิบเจ็ด สิบแปด สิบเก้า ยี่สิบ ยี่เอ็ด ยี่สอง ยี่สาม ยี่สี่ ยี่ห้า ยี่หก ยี่เจ็ด ยี่แปด ยี่เก้า สามสิบ หยุด

8. เป่าปาก 2 ครั้ง ให้หน้าอกขยาย

9. ทำซ้ำข้อ 7 กดหน้าอก 30 ครั้งตามด้วยเป่าปาก 2 ครั้ง เป็นระยะเวลา 2นาที
หลัง 2นาทีถ้าผู้ป่วยไม่หายใจ ไม่ไอ ไม่ขยับ ให้โทรหารถพยาบาล 1669 ทันทีครับ
ทำซ้ำข้อ 9 จนกว่าผู้ป่วยจะตื่น

ปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ (Cardiopulmonary resuscitation : CPR)


ปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ (Cardiopulmonary resuscitation : CPR)
                                             
             หมายถึง การช่วยเหลือผู้ที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้น ให้มีการหายใจและการไหลเวียนกลับคืนสู่สภาพเดิม ป้องกันเนื้อเยื่อได้รับอันตรายจากการขาดออกซิเจนอย่างถาวร ซึ่งสามารถทำได้โดยการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (Basic life support) ได้แก่ การผายปอด และการนวดหัวใจภายนอก


ภาวะหยุดหายใจและหัวใจหยุดเต้น
             ภาวะหยุดหายใจ (respiratory arrest) และภาวะหัวใจหยุดเต้น (cardiac arrest) - เป็นภาวะที่มีการหยุดการทำงานของอวัยวะในระบบทางเดินหายใจและการไหลเวียนเลือด ส่วนมากมักจะพบว่ามีการหยุดหายใจก่อนเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น และ ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลือที่ถูกต้อง จะทำให้เสียชีวิตได้


สาเหตุของการหยุดหายใจ
1.       ทางเดินหายใจอุดตันจากสาเหตุต่างๆ เช่น จากสิ่งแปลกปลอมอุดกั้นทางเดินหายใจ การแขวนคอ การถูกบีบรัดคอ การรัดคอ เป็นต้น ในเด็กเล็กสาเหตุจากการหยุดหายใจที่พบได้มากที่สุดคือ การสำลักสิ่งแปลกปลอมเข้าหลอดลม เช่น ของเล่นชิ้นเล็ก ๆ เมล็ดถั่ว เป็นต้น
2.       มีการสูดดมสารพิษ แก็สพิษ ควันพิษ
3.       การถูกกระแสไฟฟ้าแรงสูงดูด
4.       การจมน้ำ
5.       การบาดเจ็บที่ทรวงอก ทำให้ทางเดินหายใจได้รับอันตรายและเนื้อเยื่อได้รับบาดเจ็บ
6.       โรคระบบประสาท เช่น บาดทะยัก ไขสันหลังอักเสบ ทำให้กล้ามเนื้อหายใจเป็นอัมพาต
7.       การได้รับสารพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย เช่น ผึ้ง ต่อ แตน ต่อยบริเวณคอ หน้า ทำให้มีการบวมของเนื้อเยื่อของทางเดินหายใจและหลอดลมมีการหดเกร็ง
8.       การได้รับยากดศูนย์ควบคุมการหายใจ เช่น มอร์ฟีน ฝิ่น โคเคน บาร์บิทูเรต ฯลฯ
9.       โรคหัวใจ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยงอย่างเฉียบพลัน
10.    มีการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ และมีภาวะหายใจวายจากสาเหตุต่างๆ


 
สาเหตุของหัวใจหยุดเต้น
1.       หัวใจวายจากโรคหัวใจ จากการออกกำลังกายมากเกินปกติ หรือตกใจหรือเสียใจกระทันหัน
2.       มีภาวะช็อคเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน จากการสูญเสียเลือดมาก ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือมีเลือดมาเลี้ยงไม่เพียงพอ
3.       ทางเดินหายใจอุดกั้น ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ
4.       การได้รับยาเกินขนาดหรือการแพ้

ข้อบ่งชี้ในการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ
1.       ผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจ โดยที่หัวใจยังคงเต้นอยู่ประมาณ 2-3 นาที ให้ผายปอดทันที จะช่วยป้องกันภาวะหัวใจหยุดเต้นได้ และช่วยป้องกันการเกิดภาวะเนื้อเยื่อสมองขาดออกซิเจนอย่างถาวร
2.       ผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจและหัวใจหยุดเต้นพร้อมกัน ซึ่งเรียกว่า clinical death การช่วยฟื้นคืนชีพทันทีจะช่วยป้องกันการเกิด biological death คือ เนื้อเยื่อโดยเฉพาะเนื้อเยื่อสมองขาดออกซิเจน
       ระยะเวลาของการเกิด biological death หลังจาก clinical death ยังไม่มีใครทราบแน่ชัด แต่โดยทั่วไป มักจะเกิดช่วง 4-6 นาที หลังเกิด clinical death ดังนั้นการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพจึงควรทำภายใน 4 นาที
ลำดับขั้นในการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ
การปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ ขั้นพื้นฐานประกอบด้วย 3 ขั้นตอนใหญ่สำคัญ คือ A B C ซึ่งต้องทำตามลำดับคือ 
1.       A - Airway : การเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง
2.       B - Breathing : การช่วยให้หายใจ
3.       C - Circulation : การนวดหัวใจเพื่อช่วยให้เกิดเลือดไหลเวียนอีกครั้ง


1. A : Airway หมายถึง การเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง ซึ่งเป็นการปฏิบัติการขั้นแรก ที่ต้องทำอย่างรวดเร็ว เพราะเนื่องจากโคนลิ้นและกล่องเสียงมีการตกลงไปอุดทางเดินหายใจส่วนบนในผู้ป่วยที่หมดสติ ดังนั้นจึงต้องมีการเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง โดยการดัดคางขึ้นร่วมกับการกดหน้าผากให้หน้าแหงนเรียกว่า "head tilt chin lift"
                                        
                          ภาพที่ 2 ทางเดินหายใจที่เปิดและปิด

                            ภาพที่ 3 head tilt chin lift

         ในกรณีที่มีกระดูกสันหลังส่วนคอหัก หรือในรายที่สงสัย ควรใช้วิธี "jaw thrust maneuver" โดยการดึงขากรรไกรทั้งสองข้างขึ้นไปข้างบน ผู้ช่วยเหลืออยู่เหนือศีรษะผู้ป่วย
                                               

                            ภาพที่ 4 jaw thrust maneuver

2. B : Breathing คือ การช่วยหายใจ เนื่องจากการหายใจหยุด ร่างกายจะมีออกซิเจนคงอยู่ในปอดและกระแสเลือด แต่ไม่มีสำรองไว้ใช้ดังนั้น เมื่อหยุดหายใจ จึงต้องช่วยหายใจ เป็นวิธีที่จะช่วยให้ออกซิเจนเข้าสู่ปอดผู้ป่วยได้ ซึ่งออกซิเจนที่เป่าออกไปนั้นมีออกซิเจนประมาณ 16-17 % ซึ่งเพียงพอสำหรับใช้ในร่างกาย สามารถทำได้หลายวิธี คือ ด้วยการเป่าปาก (mouth to mouth) เป่าจมูก (mouth to nose) และวิธีการกดหลังยกแขนของโฮลเกอร์ - นิลสัน (back pressure arm lift or Holger - Nielson method) ทำได้ดังนี้

        2.1 กรณีเป่าปาก บีบจมูกของผู้ป่วย ผู้ช่วยเหลือหายใจเข้าปอดลึก ๆ ซัก 2-3 ครั้ง หายใจ เข้าเต็มที่แล้วประกบปากให้แนบสนิทกับปากของผู้ป่วย แล้วเป่าลมหายใจเข้าไปในปอดให้เต็มที่
                                            
                   ภาพที่ 5 การผายปอดด้วยวิธี Mouth to Mouth


        2.2 กรณีเป่าจมูก ใช้ในรายที่มีการบาดเจ็บในปาก หรือในเด็กเล็ก ต้องปิดปากของผู้ป่วยก่อน และเป่าลมหายใจเข้าทางจมูกแทน
                                           

                   ภาพที่ 6 การผายปอดด้วยวิธี Mouth to Nose

          ขณะที่เป่าให้เหลือบมองยอดอกของผู้รับบริการด้วยว่ามีการยกตัวขึ้นหรือไม่ การเป่าลมหายใจของผู้ช่วยเหลือผ่านทางปากหรือจมูก จะต้องทำอย่างช้าๆ ปล่อยปากหรือผู้ช่วยเหลือออกจากปากหรือจมูกของผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยหายใจออก ให้ ผายปอด 2 ครั้ง ๆ ละ 1-1.5 วินาที (แต่ละครั้งได้ออกซิเจน 16 %) อัตราเร็วในการเป่า คือ 12 -15 ครั้ง / นาที ใกล้เคียงกับการหายใจปกติ


3. C : Circulation คือการนวดหัวใจภายนอก ทำในรายที่ประเมินภาวะหัวใจหยุดเต้น โดยการจับชีพที่ carotid artery แล้วไม่พบว่ามีการเต้นของชีพจร ก็จะช่วยให้มีการไหลเวียนของเลือดโดยการกดนวดหัวใจภายนอก (cardiac massage) โดยมีหลักการคือ กดให้กระดูกหน้าอก (sternum) ลงไปชิดกับกระดูกสันหลัง ซึ่งจะทำให้หัวใจที่อยู่ระหว่างกระดูกทั้งสองอัน ถูกกดไปด้วย ทำให้มีการบีบเลือดออกจากหัวใจไปเลี้ยงร่างกาย เสมือนการบีบตัวของหัวใจ


วิธีนวดหัวใจ
1. จัดให้ผู้ป่วยนอนหงายราบ บนพื้นแข็ง ถ้าพื้นอ่อนนุ่มให้สอดไม้กระดานแข็งใต้ลำตัว
2. วัดตำแหน่งที่เหมาะสำหรับการนวดหัวใจ โดยใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางข้างที่ถนัด วาดจากขอบชายโครงล่างของผู้ป่วยขึ้นไป จนถึง ปลายกระดูกหน้าอก วัดเหนือปลายกระดูกหน้าอกขึ้นมา 2 นิ้วมือ แล้วใช้สันมือข้างที่ไม่ถนัดวางบนตำแหน่งดังกล่าว และใช้สันมือข้างที่ถนัดวางทับลงไป และเกี่ยวนิ้วมือให้นิ้วมือที่วางทับแนบชิดในร่องนิ้วมือของมือข้างล่าง (interlocked fingers) ยกปลายนิ้วขึ้นจากหน้าอก
3. ผู้ช่วยเหลือยืดไหล่และแขนเหยียดตรง จากนั้นปล่อยน้ำหนักตัวผ่านจากไหล่ไปสู่ลำแขนทั้งสองและลงไปสู่กระดูกหน้าอกในแนวตั้งฉากกับลำตัวของผู้เจ็บป่วยในผู้ใหญ่และเด็กโต กดลงไปลึกประมาณ 1.5 - 2 นิ้ว ให้กดลงไปในแนวดิ่ง และอย่ากระแทก
4. ผ่อนมือที่กดขึ้นให้เต็มที่เพื่อให้ทรวงอกมีการขยายตัว และหัวใจได้รับเลือดที่อุดมไปด้วยออกซิเจน ขณะที่ผ่อนมือไม่จำเป็นต้องยกมือขึ้นสูง มือยังคงสัมผัสอยู่ที่กระดูกหน้าอก อย่ายกมือออกจากหน้าอก จะทำให้มีเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ในร่างกาย และมีเลือดไหลกลับเข้าสู่หัวใจ ทำให้มีการไหลเวียนเลือดในร่างกาย
5. การกดนวดหัวใจจะนวดเป็นจังหวะสม่ำเสมอ ในอัตราเร็ว 100 ครั้ง/นาที ถ้าน้อยกว่านี้จะไม่ได้ผล

           ภาพที่ 9 แสดงการวัดตำแหน่ง และการกดนวดหัวใจภายนอก

การปฏิบัติในการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น

1. เมื่อพบคนนอนอยู่ คล้ายหมดสติ ต้องลองตรวจดูว่าหมดสติจริงหรือไม่ โดยการเรียกและเขย่าตัว เขย่าหรือตบที่ไหล่ ถ้าหมดสติจะไม่มีการโต้ตอบ หรือมีเสียงคราง หรือมีการเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อย
                                     




                           ภาพที่ 10 ตรวจสอบการหมดสติ 

2. ประเมินการหายใจโดยการทำ look listen and feel

   - look คือ ดูการเคลื่อนไหวของทรวงอก และหน้าท้องว่ามีการยกตัวขึ้นหรือไม่ หรือ หายใจหรือไม่
   - listen คือ ฟังเสียงลมหายใจ โดยเอียงหูของผู้ช่วยเหลือเข้าไปใกล้บริเวณจมูกและปากของผู้ป่วย ว่าได้ยินเสียงอากาศผ่านออกมาทางจมูกหรือปากหรือไม่
   - feel คือ สัมผัส โดยการใช้แก้มของผู้ช่วยเหลือสัมผัสกับความรู้สึกว่ามีลมหายใจที่ผ่านออกจากปากหรือจมูก อาจใช้สำลีหรือวัสดุบางเบาจ่อบริเวณจมูก

                   ภาพที่ 11 แสดงการทำ look listen and feel 



3. ถ้าพบว่าไม่หายใจให้เรียกขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น พร้อมทั้งจัดท่านอนหงายราบบนพื้นแข็ง เริ่มขั้นตอนการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ 

        ขั้นตอนที่
Airway โดยการเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง ด้วยวิธี head tilt chin lift หรือ jaw thrust maneuver (ถ้ามีการหักของกระดูกสันหลังส่วนคอ) - ดูภาพที่ 3 และ 4 ในหัวข้อ Airway

4. ทดสอบการหายใจโดยการทำ look listen and feel อีกครั้งหนึ่งถ้ายังไม่หายใจ ให้ทำขั้นตอนต่อไปคือ         
        ขั้นตอนที่ 2 
Breathing คือ เป่าลมหายใจ 2 ครั้ง - ดูภาพที่ 5 และ 6 ในหัวข้อ Breathing

5. ทดสอบว่าหัวใจหยุดเต้นหรือไม่ด้วยการจับชีพจร ถ้าไม่มีการเต้นของหัวใจ เป่าปากอีก 2 ครั้ง แล้วทำ cardiac massage ด้วยอัตราเร็ว 100 ครั้ง/นาที โดยการนับ 1 และ2 และ 3 และ………จนถึง 30 ครั้ง - ดูภาพที่ 9 ในหัวข้อ Circulation

6. ทำสลับกันอย่างนี้ ไปจนครบ 4 รอบ (1 นาที) จึงประเมินการหายใจและการเต้นของชีพจร และประเมินอีก ทุก 1 นาที

7. ถ้ามีผู้ช่วยเหลือมาช่วยอีก ให้แบ่งการทำหน้าที่กัน เช่น ผู้ช่วยเหลือคนที่ 1 ผายปอด ผู้ช่วยเหลือคนที่ 2 กดนวดหัวใจ ถ้าผู้ช่วยเหลือแต่ละคนอาจเหนื่อยและต้องการเปลี่ยนหน้าที่กัน โดยการตะโกนว่า "เปลี่ยน" ก็จะสลับหน้าที่กัน
                                    


                    ภาพที่ 12 การปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ 2 คน 

8. ให้ปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งมีบุคลากรนำอุปกรณ์มาช่วยเหลือเพิ่มเติม และรีบนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดทันที

                                      -----------------------------------------------

การจัดท่าผู้ป่วยหลังปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ

      หลังปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ จนกระทั่งผู้ป่วยมีชีพจรและหายใจได้เองแล้ว แต่ยังหมดสติอยู่ หรือพบผู้ป่วยหมดสติ แต่ยังมีชีพจรและหายใจอยู่ ควรจัดให้อยู่ในท่าพักฟื้น (recovery position) ซึ่งท่านี้จะช่วยป้องกันลิ้นตกไปอุดกั้นทางเดินหายใจ ช่วยให้น้ำลายหรือเสมหะไหลออกจากปากได้ ทำให้ปลอดภัยจากการสูดสำลัก การจัดท่าทำได้ดังนี้
       1. นั่งคุกเข่าข้าง ๆ ผู้ป่วย ทำ head tilt chin lift เหยียดขาผู้ป่วยให้ตรง จับแขนด้านใกล้ตัวงอและหงายมือขึ้นดังภาพ


                                  
                            ภาพที่ 18 การจับแขนด้านใกล้ตัว 


       2. จับแขนด้านไกลตัวข้ามหน้าอกมาวางมือไว้ที่แก้มอีกข้างหนึ่ง


                                   
                            ภาพที่ 19 การจับแขนด้านไกลตัว 


       3. ใช้แขนอีกข้างหนึ่งจับขาไว้ ดึงพลิกตัวผู้ป่วยให้เข่างอข้ามตัวมาด้านที่ผู้ปฏิบัติอยู่ ให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าตะแคง 
                                     
                            ภาพที่ 20 การจับดึงให้พลิกตัว 


       4. จับศีรษะแหงนเล็กน้อย เพื่อเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง ปรับมือให้อยู่ใต้แก้ม และจัดขาให้งอเล็กน้อย

อันตรายของการทำ CPR ไม่ถูกวิธี
         1. วางมือผิดตำแหน่ง ทำให้ซี่โครงหัก , xiphoid หัก , กระดูกที่หักทิ่มโดนอวัยวะสำคัญ เช่น ตับ ม้าม เกิดการตกเลือดถึงตายได้ 
         2. การกดด้วยอัตราเร็วเกินไป เบาไป ถอนแรงหลังกดไม่หมด ทำให้ปริมาณเลือดไปถึงอวัยวะต่างๆ ที่สำคัญได้น้อย ทำให้ขาดออกซิเจน
         3. การกดแรงและเร็วมากเกินไป ทำให้กระดูกหน้าอกกระดอนขึ้น ลงอย่างรวดเร็ว หัวใจช้ำเลือดหรือกระดูกหักได้
         4. การกดหน้าอกลึกเกินไป ทำให้หัวใจชอกช้ำได้
         5. การเปิดทางเดินหายใจไม่เต็มที่ เป่าลมมากเกินไป ทำให้ลมเข้ากระเพาะอาหาร เกิดท้องอืด อาเจียน ลมเข้าปอดไม่สะดวก ปอดขยายตัวไม่เต็มที่ ถ้ามีอาการอาเจียนเกิดขึ้นก่อน หรือ ระหว่างการทำ CPR ต้องล้วงเอาเศษอาหารออกก่อน มิฉะนั้นจะเป็นสาเหตุของ การอุดตันของทางเดินหายใจ (airway obstruction) การช่วยหายใจไม่ได้ผล เกิดการขาดออกซิเจน ถ้ามีอาการท้องอืดขึ้น ระหว่างการทำ CPR ให้จัดท่าเปิดทางเดินหายใจใหม่ และช่วยการหายใจด้วยปริมาณลมที่ไม่มากเกินไป


วีดีโอ 1 : วิธีการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ 1

วีดีโอ 1 : วิธีการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ 2

จังหวะ Cha-Cha-Cha


การเต้นรำจังหวะ Cha-Cha-Cha
            ในบรรดาจังหวะเต้นรำแบบละตินอเมริกันที่มีอยู่ด้วยกัน 5 จังหวะนั้น ช่ะ ช่ะ ช่า เป็นจังหวะเต้นรำที่มีกำเนิดหลังสุด กล่าวคือเป็นจังหวะที่รับการพัฒนามาจากจังหวะแมมโบ้ ( MAMBO) ซึ่งในอดีตเรียกชื่อจังหวะนี้เต็มๆ ว่า แมมโบ้  ช่ะ ช่ะ ช่า ต้นกำเนิดมาจากคิวบาการเปลี่ยนแปลงนี้เกิดจากอิทธิพลของดนตรีที่พัฒนาไป ทำให้การเต้นรำพัฒนาตามไปด้วย
            ต้นกำเนิดของ ช่ะ ช่ะ ช่า เริ่มในปี ค.ศ. 1950 ขณะที่ดนตรีของคิวบันได้รับความนิยมอยู่ในอังกฤษนั้นได้มีเพลงจังหวะสวิง ( SWING) ซึ่งเกิดใหม่และนิยมกันมากเข้ามามีบทบาทแทรกแซงผสมผสานกับดนตรีของคิวบัน ทำให้เพลงของคิวบันที่เคยมีลักษณะนุ่มนวลเปลี่ยนเป็นเร็วขึ้น เครื่องดนตรีที่ใช้เคาะจังหวะเริ่มเล่นพลิกแพลงผิดเพี้ยนออกไป เริ่มเคาะให้ไม่ลงจังหวะ ( OFF BEAT) สไตล์ของดนตรีที่พัฒนามานี้จึงได้ชื่อว่า “ แมมโบ้ ” และมีการสาธิตเต้นรำจังหวะแมมโบ้ ในการประชุมนานาชาติเกี่ยวกับการเต้นรำ แบบบอลรูมที่แบลคพูลประเทศอังกฤษ ( INTERNATIONAL DANCE CONGRESS IN BLACKPOLL) รูปแบบการเต้นแมมโบ้พื้นฐานก็คือ ก้าวออกไปข้างหน้า 1 ก้าว แล้วถอยกลับ 2 ก้าว จากนั้นถอยหลัง 1 ก้าว แล้วก้าวไปข้างหน้า 2 ก้าว (ก้าวที่ 2 ย้ำอยู่กับที่) แมมโบ้ได้รับความนิยม ทั้งเพลงและการเต้นอย่างมากในอเมริกาและยุโรป ต่อมาแมมโบ้ได้พัฒนาจากที่เคยเร็วให้ช้าลงสำหรับการเต้นจากแมมโบ้ที่เคยเต้นเดินหน้า 3 ก้าวและถอยหลัง 3 ก้าวก็เพิ่มการชิดเท้าไล่กันไปข้างหน้า 2 ก้าว และชิดเท้าไล่กันไปข้างหลัง 2 ก้าว ซึ่งเป็นรูปแบบของ ช่ะ ช่ะ ช่า ในปัจจุบันที่ได้รับความนิยมแพร่หลายไปทั่วโลก
            การเต้นรำจังหวะ ช่ะ ช่ะ ช่า นี้ได้เข้ามาสู่ประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2498 โดยชาวฟิลิปปินส์ ชื่อ มิสเตอร์เออร์นี่ นักดนตรีของวง “ ซีซ่า วาเลสโก ” ได้นำลีลาการเต้น ช่ะ ช่ะ ช่า และการเขย่ามาลากัส (ลูกแซ็ก) มาประกอบเพลงเข้าไปด้วย ซึ่งลีลาการเต้นนี้เป็นที่ประทับใจบรรดานักเต้นรำและครูสอนลีลาศทั้งหลาย จึงได้ขอให้มิสเตอร์เออร์นี่สอนให้ การเต้น ช่ะ ช่ะ ช่า ตามแบบของมิสเตอร์เออร์นี่จึงถูกถ่ายทอดและมีอิทธิพลมาจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าในภายหลังได้มีการนำรูปแบบการเต้นที่ถูกต้องตามมาตรฐานสากลเข้ามาแทนที่แล้วก็ตาม

วีดีโอ 1: การฝึกเต้นจังหวะ Cha cha cha เบื้องต้น


ที่มา : http://www.thaigoodview.com/node/50609